วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

5. องค์ประกอบการจัดการความรู้

                   http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html ได้รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
   1.บุคลากร(ครู)  หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา

   2.ข้อมูล/ความรู้  หมายถึงข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร(ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

   3.เทคโนโลยีและการสื่อสาร   เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน

   4.วิธีการและกระบวนการ  หมายถึง  วิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด


        ทิพวรรณ  หล่อสุวรรณรัตน์(2549:101).ได้รวบรวมองค์ประกอบสำคัญในการสนันสนุนการจัดการความรู้ ดังนี้ คือ
       1.กลยุทธ์ หมายถึงกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ โดยองค์กรที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้มาใช้ควรเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความรู้ที่องค์การใช้ว่ามีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อจะได้เลือกกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การจัดการความรู้ควรจะต้องเชื่อมโยงละสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ขององค์การ หรือเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การที่ได้กำหนดไว้แล้ว
       2.คน องค์ประกอบนี้หมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติ ความสามรถ มีแรงจูงใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดอัตรากำลังคน การวัดผลการดำเนินงานของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล ตลอดจนถึงบทบาทของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านความรู้
       3.วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ และเป็นสิ่งที่องค์การจะต้องสร้างเสริมให้เป็นค่านิยมหลักหนึ่งขององค์การ องค์การอาจจะต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การไว้ใจกันและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันความรู้ เพราะการจัดการความรู้ไม่สามารถใช้การบังคับได้ แต่จะต้องมาจากใจ
       4.เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจัดการความรู้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี
       5.การประเมินผล จะต้องสร้างระบบประเมินผลองค์การเพื่อจะได้ทราบผลการจัดการความรู้ภายในองค์การ กำหนดตัวการประเมินผล และมอบหมายหน่วยงานหรือทีมในการประเมินผลเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
       6.โครงสร้างองค์การ โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้

           http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/mean_KM.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) คือ

   1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

   2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

   3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขตKM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป


สรุป   องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้  คือ

           1.กลยุทธ์ หมายถึงกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ โดยองค์กรที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้มาใช้ควรเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความรู้ที่องค์การใช้ว่ามีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อจะได้เลือกกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การจัดการความรู้ควรจะต้องเชื่อมโยงละสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ขององค์การ หรือเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การที่ได้กำหนดไว้แล้ว

           2.คน องค์ประกอบนี้หมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติ ความสามรถ มีแรงจูงใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดอัตรากำลังคน การวัดผลการดำเนินงานของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล ตลอดจนถึงบทบาทของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านความรู้

         3.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

         4.วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ และเป็นสิ่งที่องค์การจะต้องสร้างเสริมให้เป็นค่านิยมหลักหนึ่งขององค์การ องค์การอาจจะต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การไว้ใจกันและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันความรู้ เพราะการจัดการความรู้ไม่สามารถใช้การบังคับได้ แต่จะต้องมาจากใจ

           5.เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจัดการความรู้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี

          6.การประเมินผล จะต้องสร้างระบบประเมินผลองค์การเพื่อจะได้ทราบผลการจัดการความรู้ภายในองค์การ กำหนดตัวการประเมินผล และมอบหมายหน่วยงานหรือทีมในการประเมินผลเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป

          7.โครงสร้างองค์การ โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้


ที่มา : ชื่อเว็บไซค์ http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html   เข้าถึงเมื่อ  วันที่  25 กรกฎาคม  2556.

         ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549):องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร.

        ชื่อเว็บไซค์ http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/mean_KM.htm  เข้าถึงเมื่อ  วันที่ 25 กรกฎาคม  2556.

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

4. เป้าหมายการจัดการความรู้

            
                       http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/   ได้รวบรวมไว้ว่า   การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่
     (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
     (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย
     (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคต


            อักษร สวัสดี ( 2542 : 26-28 ) ได้รวบรวมนิยามความรู้ไว้ว่า  ความรู้ หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้

ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

 ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge)ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น

 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง

 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้

 การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด

           วิจารณ์ พานิช  (http://www.thaiall.com/km/indexo.html) ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่า  สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 

1) บรรลุเป้าหมายของงาน 

2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 

3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 

4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน



สรุป   ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่

     (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

     (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย

     (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคต       


ที่มา :ชื่อเว็บไซค์  http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/ เข้าถึงเมื่อ  วันที่   22 กรกฎาคม  2556.

         อักษร สวัสดี .ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ภาคนิพนธ์ปริญญา พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2542.

        วิจารณ์ พานิชชื่อเว็บไซค์  http://www.thaiall.com/km/indexo.html   เข้าถึงเมื่อ  วันที่   22 กรกฎาคม  2556.

3. หลักการจัดการความรู้

  
http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/30-0001-intro-to-km-2.htmlได้รวบรวมไว้ว่า  หลักการจัดการความรู้ คือ

         1.   ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การ จัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลังคือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลังในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)

          2.    ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่  เพื่อ บรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ
         -  การ ตอบสนองความต้องการ (responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือ                  ความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
         -  นวัตกรรม (innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
         -   ขีดความสามารถ (competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
         -  ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน

         3. ทดลองและเรียนรู้ เนื่อง จากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคมโดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ best practice ใหม่นั่นเอง

        4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม โดย ต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป
  http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/index2-2.html  ได้รวบรวมไว้ว่า   หลักการ 4 ประการของการจัดการความรู้
        1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
                  การจัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลัง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลัง   ในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (Heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)
        2.ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ
                  เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกบ 4 ประการ คือ
                   - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
                  - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
                  - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
                  - ประสิทธิภาพ (Efficency) ในการทำงาน
        3.ทดลองและเรียนรู้
                เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคม โดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ Best Practice ใหม่นั่นเอง

          4.นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม
                โดยต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป

 http://portal.in.th/learninghome/pages/12089/ ได้รวบรวมไว้ว่า หลักการ 4 ประการของการจัดการความรู้ ประกอบไปด้วย
1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
2. ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
          - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า  ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
          - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
          - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
          - ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงาน
3. ทดลองและเรียนรู้
4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม  การดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยราชการควรใช้หลักการ "พลังสาม รวมเป็นหนึ่งเดียว"
               (1) ใช้พลังของระบบ "ราชการประจำ" ซึ่งมีการทำงานตามกฎระเบียบ มีรูปแบบที่ชัดเจน
               (2) ใช้พลังของ "ระบบแห่งความสร้างสรรค์" มีการทดลองรูปแบบใหม่ ๆ ของการทำงานเป็น project team ทำงานมุ่งเป้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ภายใต้แนวคิดของ "ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว" (complex-adaptive system)
               (3) ใช้พลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร ในรูปของการรวมตัวกันเองเป็นกลุ่ม
เชื่อมโยงกับระบบราชการประจำ และระบบแห่งการสร้างสรรค์ เน้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนา best practices จากการเรียนรู้ จากการทำงานภายในองค์กร และการ "ตรวจจับ" (capture) ความรู้จากภายนอกองค์กรเอามาปรับใช้ในการทำงาน
                  
สรุป  หลักการจัดการความรู้ มี 4 ประการ คือ

         1.   ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การ จัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลังคือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลังในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)

        2.    ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่  เพื่อ บรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ
         -  การ ตอบสนองความต้องการ (responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือ                  ความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
         -  นวัตกรรม (innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
         -   ขีดความสามารถ (competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
         -  ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน

       3. ทดลองและเรียนรู้ เนื่อง จากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคมโดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ best practice ใหม่นั่นเอง
      4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม โดย ต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป 


ที่มา : ชื่อเว็บไซค์  http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/30-0001-intro-to-km-2.html เข้าถึงเมื่อวันที่   22 กรกฎาคม  2556.
        ชื่อเว็บไซค์  http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/index2-2.html  เข้าถึงเมื่อวันที่   22 กรกฎาคม  2556.
        ชื่อเว็บไซค์    http://portal.in.th/learninghome/pages/12089/ เข้าถึงเมื่อวันที่   22 กรกฎาคม  2556.


2. นิยามการจัดการความรู้

             
                     ประเวศ วะสี (2548:31-32) ได้กล่าวไว้ว่า “คำว่า “การจัดการ” อาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนักในสังคมไทย เพราะเหมือนจะไปใช้อำนาจจัดการอะไรๆ แต่คำว่า จัดการความรู้ (Knowledge Management) มีความหมายจำเพาะ ว่าหมายถึงการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาลเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน ข้อสำคัญก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งหมดที่ร่วมในกระบวนการก่อให้เกิดปัญญาร่วม (Collective Wisdom) ทำให้แก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องยากๆ ได้สำเร็จ

              พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547:32) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

               http://km.spr.go.th/   ได้รวบรวมไว้ว่า  การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management)  คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดโดยที่ความรู้มี2ประเภทคือ

        1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
        2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม


        สรุป

การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

                    1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
                 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

     

 ที่มา: ประเวศ  วะสี. (2548). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

      พรธิดา วิเชียรปัญญา.(2547).การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้.กรุงเทพฯ:เอ็กเปอร์เน็ท.

      ชื่อเว็บไซค์    http://km.spr.go.th/  เข้าถึงเมื่อ  วันที่ 20 กรกฎาคม 2556.

1. นิยามความรู้

    http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2fdb7db56a210c16   ได้รวบรวมไว้ว่า  คำว่า ความรู้ (Knowledge) นั้น ในทัศนะของฮอสเปอร์ (อ้างถึงในมาโนช เวชพันธ์ 2532, 15-16) นับเป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ ซึ่งอาจจะโดยการนึกได้ มองเห็น ได้ยิน หรือ ได้ฟัง ความรู้นี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก
                

              พรรณี สวนเพลง (2552:15) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้หมายถึงสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ


             ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ(2548:17) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้คือ กรอบของความผสมผสานระหว่างสถานการณ์ ค่านิยม ความรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูล และสารสนเทศทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้

                สรุป ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ 


ที่มา:

       ชื่อเว็บไซค์ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2fdb7db56a210c16 
เข้าถึงเมื่อ  วันที่   20 กรกฎาคม  2556.

     พรรณี สวนเพลง.(2552).เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

     ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ.(2548).การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ.กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท.