วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

5. องค์ประกอบการจัดการความรู้

                   http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html ได้รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
   1.บุคลากร(ครู)  หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา

   2.ข้อมูล/ความรู้  หมายถึงข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร(ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

   3.เทคโนโลยีและการสื่อสาร   เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน

   4.วิธีการและกระบวนการ  หมายถึง  วิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด


        ทิพวรรณ  หล่อสุวรรณรัตน์(2549:101).ได้รวบรวมองค์ประกอบสำคัญในการสนันสนุนการจัดการความรู้ ดังนี้ คือ
       1.กลยุทธ์ หมายถึงกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ โดยองค์กรที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้มาใช้ควรเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความรู้ที่องค์การใช้ว่ามีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อจะได้เลือกกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การจัดการความรู้ควรจะต้องเชื่อมโยงละสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ขององค์การ หรือเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การที่ได้กำหนดไว้แล้ว
       2.คน องค์ประกอบนี้หมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติ ความสามรถ มีแรงจูงใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดอัตรากำลังคน การวัดผลการดำเนินงานของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล ตลอดจนถึงบทบาทของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านความรู้
       3.วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ และเป็นสิ่งที่องค์การจะต้องสร้างเสริมให้เป็นค่านิยมหลักหนึ่งขององค์การ องค์การอาจจะต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การไว้ใจกันและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันความรู้ เพราะการจัดการความรู้ไม่สามารถใช้การบังคับได้ แต่จะต้องมาจากใจ
       4.เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจัดการความรู้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี
       5.การประเมินผล จะต้องสร้างระบบประเมินผลองค์การเพื่อจะได้ทราบผลการจัดการความรู้ภายในองค์การ กำหนดตัวการประเมินผล และมอบหมายหน่วยงานหรือทีมในการประเมินผลเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
       6.โครงสร้างองค์การ โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้

           http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/mean_KM.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) คือ

   1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

   2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

   3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขตKM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป


สรุป   องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้  คือ

           1.กลยุทธ์ หมายถึงกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ โดยองค์กรที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้มาใช้ควรเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความรู้ที่องค์การใช้ว่ามีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อจะได้เลือกกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การจัดการความรู้ควรจะต้องเชื่อมโยงละสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ขององค์การ หรือเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การที่ได้กำหนดไว้แล้ว

           2.คน องค์ประกอบนี้หมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติ ความสามรถ มีแรงจูงใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดอัตรากำลังคน การวัดผลการดำเนินงานของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล ตลอดจนถึงบทบาทของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านความรู้

         3.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

         4.วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ และเป็นสิ่งที่องค์การจะต้องสร้างเสริมให้เป็นค่านิยมหลักหนึ่งขององค์การ องค์การอาจจะต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การไว้ใจกันและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันความรู้ เพราะการจัดการความรู้ไม่สามารถใช้การบังคับได้ แต่จะต้องมาจากใจ

           5.เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจัดการความรู้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี

          6.การประเมินผล จะต้องสร้างระบบประเมินผลองค์การเพื่อจะได้ทราบผลการจัดการความรู้ภายในองค์การ กำหนดตัวการประเมินผล และมอบหมายหน่วยงานหรือทีมในการประเมินผลเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป

          7.โครงสร้างองค์การ โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้


ที่มา : ชื่อเว็บไซค์ http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html   เข้าถึงเมื่อ  วันที่  25 กรกฎาคม  2556.

         ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549):องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร.

        ชื่อเว็บไซค์ http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/mean_KM.htm  เข้าถึงเมื่อ  วันที่ 25 กรกฎาคม  2556.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น