วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1. นิยามความรู้

    http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2fdb7db56a210c16   ได้รวบรวมไว้ว่า  คำว่า ความรู้ (Knowledge) นั้น ในทัศนะของฮอสเปอร์ (อ้างถึงในมาโนช เวชพันธ์ 2532, 15-16) นับเป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ ซึ่งอาจจะโดยการนึกได้ มองเห็น ได้ยิน หรือ ได้ฟัง ความรู้นี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก
                

              พรรณี สวนเพลง (2552:15) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้หมายถึงสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ


             ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ(2548:17) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้คือ กรอบของความผสมผสานระหว่างสถานการณ์ ค่านิยม ความรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูล และสารสนเทศทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้

                สรุป ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ 


ที่มา:

       ชื่อเว็บไซค์ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2fdb7db56a210c16 
เข้าถึงเมื่อ  วันที่   20 กรกฎาคม  2556.

     พรรณี สวนเพลง.(2552).เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

     ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ.(2548).การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ.กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น