วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

7.ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้

บุญดี บุญญากิจ และคณะ  (2547:36) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่รอดได้แต่ความรู้มีความซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลาดังจะเห็นได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารรวมถึงวิทยาการและนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นล้วนต้องใช้ความรู้ในการพัฒนาทั้งสิ้นผู้บริหารขององค์การจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับความรู้ของคนในองค์กรโดยนำกลยุทธ์การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการบริหาร
          ปัจจุบันการจัดการความรู้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้มีหลายรูปแบบ แต่สิ่งสำคัญของทุกรูปแบบคือการกำหนดความรู้ที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ขององค์การเพื่อส่งผลให้องค์การบรรลุเป้าหมายการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำความรู้ของพนักงานแต่ละคนในองค์การมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนและต่อยอดก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการจัดเก็บความรู้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานแต่ความสำเร็จในนำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาคนพัฒนางานและพัฒนาองค์การต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ผู้นำและกลยุทธ์ วัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างพื้นฐานและทีม เทคโนโลยีและการสื่อสารการวัดและประเมินผล
ผู้นำและกลยุทธ์
          ผู้นำหรือผู้บริหาร มีความสำคัญต่อการดำเนินการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมาย และเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ ผู้บริหารต้องมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ ต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรงบประมาณ และเวลา อย่างพอเพียง แสดงภาวะผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานที่รับผิดชอบและบุคลากรทั่วไปรวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ผู้นำทีมการจัดการความรู้จะต้องให้การยอมรับสมาชิกทีมทุกคนเพื่อให้สมาชิกทีมมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมมีการกระตุ้นให้บุคลากรในองค์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสดงความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สมาชิกเต็มใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการความรู้ตลอดจนสร้างบรรยากาศที่มีความอบอุ่นและเป็นมิตรเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและสามารถดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
         ส่วนกลยุทธ์เป็นการเลือกใช้วิธีในการดำเนินงานการจัดการความรู้ซึ่งขึ้นกับบริบทและปัจจัยแวดล้อมขององค์การนั้นแผนกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ควรเลือกทำในเรื่องที่สามารถบูรณาการเข้ากับงานประจำได้ กลยุทธ์การจัดการความรู้ตามแนวคิดของ แฮนเซนและคณะ (Hansen, Nohria, and Tierney) มี 2 แบบ คือ กลยุทธ์ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้แบบชัดแจ้ง(Codification strategy) เป็นกลยุทธ์ที่พยายามแปลงความรู้ทุกอย่างให้อยู่ในรูปแบบของความรู้แบบชัดแจ้งให้มากที่สุดดำเนินการโดยรวบรวมข้อมูลสำคัญๆบันทึกในสื่อต่างๆหรือระบบฐานข้อมูลและกลยุทธ์ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้ที่สะสมในบุคคล (Personalizationstrategy)เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งกลยุทธ์นี้จะใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการสื่อสาร
 วัฒนธรรมองค์กร
          เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ส่งผลให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคคลในองค์กรผู้บริหารต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแนวคิดเชิงบวก และสร้างบรรยากาศให้บุคลากรเกิดความไว้วางใจกันรวมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่และเพิ่มพูนความรู้ในการทำงานแก่คนในองค์กรซึ่งแนวทางการจัดการวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการบริหารจัดการความรู้มี 3 แนวทางคือการธำรงรักษาวัฒนธรรมเดิมปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบางส่วนและสร้างวัฒนธรรมขึ้นใหม่ถ้าผู้นำรู้จักวิธีสร้างและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรอย่างเหมาะสมก็จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จในการนำการจัดการความรู้ไปใช้
           โครงสร้างพื้นฐานและทีม
         โครงสร้างพื้นฐาน เป็นปัจจัยพื้นฐานหลักที่สนับสนุนให้ปัจจัยอื่นๆ ทำหน้าที่ได้เต็มที่ ส่งผลให้การบริหารจัดการความรู้ดำเนินการได้อย่างราบรื่น เนื่องจากเป็นโครงสร้างทางด้านการบริหารงานจัดการความรู้ขององค์การ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สถานที่เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น โครงสร้างองค์กร ระบบสายการบังคับบัญชา และระบบที่สนับสนุนให้บุคลากรในองค์กร มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสะดวก ในการดำเนินงานจัดการความรู้ต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารให้มีความชัดเจนทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนทราบบทบาทหน้าที่และขอบเขตงานที่ตนเองรับผิดชอบ ใช้ระบบการบริหารแบบกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานและอำนาจหน้าที่ในลักษณะชั่วคราว (Temporary organization) เช่น คณะกรรมการ คณะทำงานเฉพาะกิจ หรือคณะทำงานในโครงการต่างๆ เมื่อปฏิบัติภาระหน้าที่ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดแล้ว จะสลายตัวไป เช่นชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practices: COP) ในเรื่องต่างๆของโรงพยาบาลศิริราช
         ลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการจัดการความรู้ที่สำคัญ คือ การทำงานเป็นทีม ซึ่งทีมต้องมีอุดมการณ์ที่แน่นอนและสมาชิกทุกคนยอมรับ ยึดถือความถูกต้อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกใจ มีการประนีประนอมกัน โดยมีน้ำใจร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่เอาเปรียบกัน ถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน เคารพในสิทธิ์และเสรีภาพส่วนตัวของผู้อื่น
          เทคโนโลยีและการสื่อสาร
          เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การติดต่อ สื่อสาร และเชื่อมโยงคนภายในและภายนอกองค์กรสะดวกและรวดเร็วขึ้น ไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลาและระยะทาง และเป็นแหล่งข้อมูล จึงมีบทบาทสำคัญของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถช่วยในด้านการจัดเก็บ และปรับปรุงความรู้ (Knowledge storage and maintenance)เทคโนโลยีช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกระบวนการจัดการความรู้ด้วย อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะช่วยให้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลความรู้มีหลากหลาย จึงนับว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้อย่างไรก็ตามหากเน้นเฉพาะที่เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตโดยปราศจากความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรแล้ว การดำเนินการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จ จะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงานไม่เข้าใจและขาดความสนใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้ ก็อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้
          ส่วนการสื่อสารเป็นกระบวนการติดต่อส่งผ่านข้อมูล ความคิด ความเข้าใจ หรือความรู้สึกระหว่างบุคคล พฤติกรรมที่ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร ได้แก่ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) คือเราเข้าใจผู้อื่น เราสามารถรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น เราพร้อมและเต็มใจที่จะคุยกับผู้อื่นและเราจะช่วยเท่าที่เราจะทำได้ การเปิดเผยข้อมูล (Openness) คือ การเปิดเผยความคิดและความรู้สึก ให้ผู้อื่นรับทราบ ความไว้วางใจ (Trust) การพรรณนา (Describing) หรือ การถ่ายทอดข้อมูล การดัดแปลงเอาข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสมาเป็นคำพูด การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น (Provisionalism) ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของผู้นำ และทีม เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้การดำเนินการจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        การวัดและประเมินผล
          ผู้บริหารควรกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินผลเป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของแต่ละฝ่ายฯและองค์การเพราะจะทำให้ทราบความก้าวหน้าและปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ใช้ติดตาม (Monitor) การทำงานแล้วนำมาทบทวนแก้ไขข้อบกพร่องของกระบวนการต่างๆและปรับปรุงให้ประสบผลสำเร็จ ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับกระตุ้น (Motivate) ผู้ปฏิบัติงานการวัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ โดยใช้การอภิปรายผลลัพธ์ที่ได้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ได้แก่ การทำให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานโดยประเมินจากเอกสารสรุปปัญหาและอุปสรรค หรือข้อดีข้อเสียในการนำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้และการวัดกระบวนการตามขั้นตอนด้วยการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสังเกตการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์การ
          องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมาต่างมีผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ซึ่งไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าองค์ประกอบใดสำคัญกว่ากันเพราะทุกองค์ประกอบเป็นปัจจัยที่ต่างส่งผลกระทบต่อกันและกันดังนั้นการจะทำให้การดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ประสบความสำเร็จนั้นผู้บริหารและคณะทำงานการจัดการความรู้จะต้องสามารถบริหารจัดการองค์ประกอบทั้งหมดอย่างเป็นระบบไปในทิศทางเดียวกันและมีความสอดคล้องเชื่อมโยง
            http://www.gotoknow.org/posts/285413  ได้รวบรวมไว้ว่า ปัจจัยที่ทำให้ KM ประสพความสำเร็จในองค์กร
              1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร
                  คนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการสร้างความรู้ใหม่ แบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ต่อไป องค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมภายในแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้เกียรติกัน เคารพในสิทธิและความคิดของผู้ร่วมงานในทุกระดับแม้เป็นบุคลากรระดับล่างก็ตาม การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องแม้แต่สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในอดีต ที่สำคัญต้องสามารถถอดประสบการณ์มาเป็นความรู้ตัวอักษรที่ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน
              2. ผู้นำ และการสร้างกลยุทธ์
                  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความเชื่อในคุณค่าของคนและความรู้ที่มีในองค์กร เข้าใจในลักษณะของปัญหาและพันธะกิจขององค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆให้เกิดขึ้น ค้นหาและเชิดชูกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศจากหน่วยงานภายใน เป็นต้นแบบแห่งการเป็นผู้ริเริ่มในการแบ่งปันและเรียนรู้ กำหนดทิศทางในการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายใน วางกลยุทธ์ในการจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้ที่จะประสพผลสัมฤทธิ์เช่น เลือกเรื่องที่ทำแล้วเห็นผล หรือ เรื่องที่มีคนเข้าใจและมีองค์ความรู้อยู่แล้วในองค์กร ที่สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้คนในองค์กรอยากนำเรื่องที่ตนรู้ออกมาแบ่งปันโดยไม่หวาดระแวงว่าจะเสียผลประโยชน์ ถูกแอบอ้างผลงาน ถูกกลั่นแกล้งเพราะอิจฉาตาร้อนต่างๆนานา องค์กรที่จะประสพความสำเร็จในเรื่องนี้ต้องสร้างอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ(Trust) และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน(Mutual respect) โดยกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่โลกที่เปิดกว้างนี้คือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั่นเอง
               3. Technology
                   ความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการทำงานและการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ การสร้างฐานข้อมูลและการจัดการระบบฐานข้อมูลตลอดจนวิธีการที่จะทำให้คนยอมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อกลางในการรวบรวมและส่งต่อขององค์ความรู้ ที่สำคัญคือสร้างระบบการป้องกันไม่ให้คนนอกเข้ามาก่อกวนและทำความเสียหายแก่ระบบฐานข้อมูลภายในได้ ขณะเดียวกัน KM  ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แพงๆเพื่อสร้างฐานข้อมูลขนาดยักษ์แต่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานของคนส่วนใหญ่ในองค์กร ผู้ที่ดูแลระบบนี้ต้องมีใจเปิดกว้างและมีความเพียรพยายามที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ฐานข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เอื้อประโยชน์ให้คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป อย่าลืมว่าระบบเหล่านี้หมดอายุขัยเร็วมากภายในไม่กี่ปี
               4. การวัดผลและการนำไปใช้
                   จัดทำระบบการติดตามและวัดผลของการจัดการความรู้และประโยชน์จากการนำไปใช้ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้คนในองค์กรมีความกระหายอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
               5. โครงสร้างพื้นฐาน 
                    การวางระบบการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล และการรายงานผลการดำเนินการต่างๆที่จะเอื้อให้แผนงานของการจัดการความรู้ประสพผลสำเร็จ ท้ายสุดองค์กรที่มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดีจะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากทุนทางด้านความรู้(Knowledge Asset)ที่เกิดจากปัญญาของบุคคลากรทุกระดับภายในองค์กรอย่างไม่รู้จักหมด เพราะเมื่อหน่วยงานได้เริ่มต้นดำเนินการเรื่อง KM จะพบว่าความรู้ที่ตัวเรา(One person)คิดว่าเรามีอยู่เยอะนั้น จริงๆแล้วยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับที่มีอยู่ภายในองค์กรของเราเอง และจะยิ่งรู้สึกประทับใจเมื่อค้นพบว่ามีความรู้บางอย่างมาจากที่ๆเราคาดคิดไม่ถึง ทำให้คนเราลดละอัตตาและกิเลศที่คิดว่าตนรู้แต่ผู้เดียวในจักรวาลและหวงความรู้นั้นไว้กับตนเอง(อันนี้รวมไปจนถึงข้อมูลและข้อสนเทศต่างๆด้วย) โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นไม่มีคุณค่าใดเลยหากไม่มีผู้นำไปใช้ อย่าลืมว่าความรู้ทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากการสอน เพราะ ยิ่งให้ยิ่งรู้ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นที่ยิ่งให้ยิ่งหมด

เจษฎา  นกน้อย (2552:52) ได้กล่าวไว้ว่า
1. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ ทีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแบะเหมาะสมกับการแลกเปลี่ยนความรู้จะทำให้พนักงานในองค์การรู้สึกอยากที่จะหาความรู้ใหม่ๆ จัดเก็บความรู้และเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่ให้แก่พนักงานคนอื่นในองค์การ
2. โครงสร้างขององค์การ การสร้างองค์การที่ยืดหยุ่น การกระจายอำนาจมีการพัฒนาความรู้ในองค์การ มีการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย มีการกำหนดบทบาทของคน และกลุ่มคนให้ชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้องค์การมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
3. มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกัน องค์การจะต้องกำหนดจุดประสงค์และประโยชน์ต่อองค์กรที่ชัดเจน เช่นช่วยประหยัดงบประมาณ หรือช่วยทำให้เกิดรายได้แก่บริษัท เพื่อให้พนักงานทราบเป้าหมายเดียวกัน
4. ผู้นำความรู้ องค์การต้องมีผู้นำความรู้หรือผู้อำนวยการ ที่จะเป็นคนผลักดันโครงการจัดการความรู้เป็นจริง โดยการสร้างระบบความผูกพันและความกระตือรือร้นให้เกิดกับพนักงานทุกคนในองค์การ
5. มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ องค์การต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ โดยให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้ใช้และผู้จัดหาสารสนเทศ โดยจะต้องสร้างกระบวนการจัดการความรู้ที่ชัดเจนตั้งแต่กระบวนการแสวงหาความรู้ สร้างความรู้ จัดเก็บความรู้ ถ่ายทอดความรู้ และการใช้ประโยชน์
6. ระบบการบริหารงานและการให้รางวัล ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบติดตามและประเมินผล การคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน หรือการให้ผลตอบแทนที่จูงใจในการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยดารติดตามผลอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอจำมีผลต่อการจัดการความรู้
7. เทคโนโลยี เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การจัดการความรู้แพร่หลายและมีความเป็นไปได้มากขึ้น ปัจจุบันความรู้สมัยใหม่ไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการเผยแพรึความรู้ ช่วยในการวัด ความคุม ประสานความรู้ และเป็นหลักประกันว่า ความรู้ที่ได้ถูกต้องและโดยใช้วิธีที่ถูกต้อง
8. ผู้นำ ผู้นำจะให้การสนับสนุนด้านนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างแรงจูงใจและการให้รางวัลแก่พนักงานที่สร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์การ ผู้นำยังมีบทบาทช่วยพิจารณาว่า การจัดการความรู้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์การหรือไม่ รวมทั้งมีบทบาทในการสนับสนุนการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์การ


สรุป ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่รอดได้แต่ความรู้มีความซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลาดังจะเห็นได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารรวมถึงวิทยาการและนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นล้วนต้องใช้ความรู้ในการพัฒนาทั้งสิ้นผู้บริหารขององค์การจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับความรู้ของคนในองค์กรโดยนำกลยุทธ์การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการบริหาร
1. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ ทีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแบะเหมาะสมกับการแลกเปลี่ยนความรู้จะทำให้พนักงานในองค์การรู้สึกอยากที่จะหาความรู้ใหม่ๆ จัดเก็บความรู้และเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่ให้แก่พนักงานคนอื่นในองค์การ
2. โครงสร้างขององค์การ การสร้างองค์การที่ยืดหยุ่น การกระจายอำนาจมีการพัฒนาความรู้ในองค์การ มีการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย มีการกำหนดบทบาทของคน และกลุ่มคนให้ชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้องค์การมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
3. มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกัน องค์การจะต้องกำหนดจุดประสงค์และประโยชน์ต่อองค์กรที่ชัดเจน เช่นช่วยประหยัดงบประมาณ หรือช่วยทำให้เกิดรายได้แก่บริษัท เพื่อให้พนักงานทราบเป้าหมายเดียวกัน
4. ผู้นำความรู้ องค์การต้องมีผู้นำความรู้หรือผู้อำนวยการ ที่จะเป็นคนผลักดันโครงการจัดการความรู้เป็นจริง โดยการสร้างระบบความผูกพันและความกระตือรือร้นให้เกิดกับพนักงานทุกคนในองค์การ
5. มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ องค์การต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ โดยให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้ใช้และผู้จัดหาสารสนเทศ โดยจะต้องสร้างกระบวนการจัดการความรู้ที่ชัดเจนตั้งแต่กระบวนการแสวงหาความรู้ สร้างความรู้ จัดเก็บความรู้ ถ่ายทอดความรู้ และการใช้ประโยชน์
6. ระบบการบริหารงานและการให้รางวัล ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบติดตามและประเมินผล การคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน หรือการให้ผลตอบแทนที่จูงใจในการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยดารติดตามผลอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอจำมีผลต่อการจัดการความรู้
7. เทคโนโลยี เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การจัดการความรู้แพร่หลายและมีความเป็นไปได้มากขึ้น ปัจจุบันความรู้สมัยใหม่ไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการเผยแพรึความรู้ ช่วยในการวัด ความคุม ประสานความรู้ และเป็นหลักประกันว่า ความรู้ที่ได้ถูกต้องและโดยใช้วิธีที่ถูกต้อง
8. ผู้นำ ผู้นำจะให้การสนับสนุนด้านนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างแรงจูงใจและการให้รางวัลแก่พนักงานที่สร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์การ ผู้นำยังมีบทบาทช่วยพิจารณาว่า การจัดการความรู้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์การหรือไม่ รวมทั้งมีบทบาทในการสนับสนุนการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์การ

ที่มา : บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
        ชื่อเว็บไซค์  http://www.gotoknow.org/posts/285413 เข้าถึงเมื่อ  วันที่   25 กรกฎาคม  2556.

         เจษฎา  นกน้อย. (2552). นานาทรรศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6.กระบวนการจัดการความรู้

                       ยุทธนา แซ่เตียว(2547:255-259). ได้รวบรวมไว้ว่า กระบวนการจัดการความรู้ ในการจัดการวามรู้นั้นก็เหมือนศาสตร์แห่งการจัดการอื่นๆ คือ มีการว่างแผนและการปฏิบัติ ในขั้นตอนการว่างแผนนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากการว่างแผนอื่นๆ มากนักคือมีการสำรวจสภาพปัจจุบันและการกำหนดเป้าหมาย ส่วนขั้นตอนการนำแผนงานไปปฏิบัตินั้นมีขั้นตอนที่สำคัญคือ การพัฒนาความรู้ (Knowledge Generation) และการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)
            1.การสำรวจและการว่างแผนความรู้ การว่างแผนความรู้ก็เหมือนกับการว่างแผนอื่นๆคือ การเริ่มสำรวจสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก่อนว่า สถานะปัจจุบันในเรื่ององค์ความรู้ภายในองค์กรเป็นเช่นไร
            2.การพัฒนาความรู้ (Knowledge Generation) ด้วยคำว่า พัฒนา อาจทำให้ฟังดูเหมือนกับว่าเราจะจำกัดความรู้ที่เกิดจากพัฒนาภายในองค์กรแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การพัฒนาในที่นี้หมายความว่า การทำการใดๆ ก็ได้เพื่อให้ความรู้เข้ามาในองค์กร

            3.การพัฒนาความรู้จากภายนอก โดยการเข้าไปซื้อหรือได้มาด้วยวิธีอื่นๆ (Acquisition) และการเช่า (Rent) ความจริงแล้วการพัฒนาความรู้เป็นวิธีที่พบได้บ่อย เช่นการซื้อหนังสือทางวิชาการ การตัดข่าวมาสรุป การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ การหาทีมงานจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมทีมหรือแม้กระทั่งการซื้อ Solution สำเร็จรูปจากที่ปรึกษามาช่วยออกแบบระบบงานบางอย่างหรือเครื่องมือทางการจัดการเพียงแต่ท่านไม่ต้องคิดเอง เพียงแต่ให้ข้อมูลแล้วที่ปรึกษาจะคิดให้ท่านเสร็จโดยไม่ต้องปวดหัว
            4.การพัฒนาความรู้ภายใน โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการพัฒนาโดยหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลงานด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น หน่วยวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบเห็นบ่อยๆ
            5.การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) และการแบ่งปันความรู้(Knowledge Sharing) คือ กระบวนการที่ทำให้ความรู้ที่พัฒนา มีการแพร่กระจายไปสู่บุคลากรที่เป็นเป้าหมาย ในกระบวนการถ่ายทอดความรู้นั้นแต่ละอย่างก็มีเป้าหมายแตกต่างกันไป ใน 2 ลักษณะคือ เน้นประสิทธิภาพและเน้นประสิทธิผล

      
       http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/Process_KM.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า  กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

   1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

   2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

   3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

   4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

   5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

   6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น  Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge   จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัวเวทีแลกเปลี่ยนความรู้  เป็นต้น
   7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/general_editor23.htm?ID=592    ได้รวบรวมไว้ว่า  กระบวนการจัดการความรู้  เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้

   1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ใน     รูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร

   2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

   3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต

   4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม

   5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board

   6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

   7.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง


สรุป กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 

   1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ใน     รูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร

   2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

   3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต

   4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม

   5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board

   6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

   7.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง


ที่มา

        ยุทธนา แซ่เตียว. (2547).การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้: สร้างองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

      ชื่อเว็บไซค์ http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/Process_KM.htm   เข้าถึงเมื่อ  วันที่   25 กรกฎาคม  2556.

     ชื่อเว็บไซค์http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/general_editor23.htm?ID=592    เข้าถึงเมื่อวันที่   25 กรกฎาคม  2556.

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

5. องค์ประกอบการจัดการความรู้

                   http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html ได้รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
   1.บุคลากร(ครู)  หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา

   2.ข้อมูล/ความรู้  หมายถึงข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร(ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

   3.เทคโนโลยีและการสื่อสาร   เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน

   4.วิธีการและกระบวนการ  หมายถึง  วิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด


        ทิพวรรณ  หล่อสุวรรณรัตน์(2549:101).ได้รวบรวมองค์ประกอบสำคัญในการสนันสนุนการจัดการความรู้ ดังนี้ คือ
       1.กลยุทธ์ หมายถึงกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ โดยองค์กรที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้มาใช้ควรเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความรู้ที่องค์การใช้ว่ามีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อจะได้เลือกกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การจัดการความรู้ควรจะต้องเชื่อมโยงละสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ขององค์การ หรือเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การที่ได้กำหนดไว้แล้ว
       2.คน องค์ประกอบนี้หมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติ ความสามรถ มีแรงจูงใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดอัตรากำลังคน การวัดผลการดำเนินงานของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล ตลอดจนถึงบทบาทของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านความรู้
       3.วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ และเป็นสิ่งที่องค์การจะต้องสร้างเสริมให้เป็นค่านิยมหลักหนึ่งขององค์การ องค์การอาจจะต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การไว้ใจกันและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันความรู้ เพราะการจัดการความรู้ไม่สามารถใช้การบังคับได้ แต่จะต้องมาจากใจ
       4.เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจัดการความรู้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี
       5.การประเมินผล จะต้องสร้างระบบประเมินผลองค์การเพื่อจะได้ทราบผลการจัดการความรู้ภายในองค์การ กำหนดตัวการประเมินผล และมอบหมายหน่วยงานหรือทีมในการประเมินผลเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
       6.โครงสร้างองค์การ โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้

           http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/mean_KM.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) คือ

   1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

   2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

   3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขตKM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป


สรุป   องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้  คือ

           1.กลยุทธ์ หมายถึงกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ โดยองค์กรที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้มาใช้ควรเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความรู้ที่องค์การใช้ว่ามีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อจะได้เลือกกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การจัดการความรู้ควรจะต้องเชื่อมโยงละสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ขององค์การ หรือเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การที่ได้กำหนดไว้แล้ว

           2.คน องค์ประกอบนี้หมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติ ความสามรถ มีแรงจูงใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดอัตรากำลังคน การวัดผลการดำเนินงานของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล ตลอดจนถึงบทบาทของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านความรู้

         3.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

         4.วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ และเป็นสิ่งที่องค์การจะต้องสร้างเสริมให้เป็นค่านิยมหลักหนึ่งขององค์การ องค์การอาจจะต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การไว้ใจกันและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันความรู้ เพราะการจัดการความรู้ไม่สามารถใช้การบังคับได้ แต่จะต้องมาจากใจ

           5.เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจัดการความรู้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี

          6.การประเมินผล จะต้องสร้างระบบประเมินผลองค์การเพื่อจะได้ทราบผลการจัดการความรู้ภายในองค์การ กำหนดตัวการประเมินผล และมอบหมายหน่วยงานหรือทีมในการประเมินผลเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป

          7.โครงสร้างองค์การ โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้


ที่มา : ชื่อเว็บไซค์ http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html   เข้าถึงเมื่อ  วันที่  25 กรกฎาคม  2556.

         ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549):องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร.

        ชื่อเว็บไซค์ http://www.eco.ru.ac.th/eco/knowlage/mean_KM.htm  เข้าถึงเมื่อ  วันที่ 25 กรกฎาคม  2556.

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

4. เป้าหมายการจัดการความรู้

            
                       http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/   ได้รวบรวมไว้ว่า   การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่
     (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
     (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย
     (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคต


            อักษร สวัสดี ( 2542 : 26-28 ) ได้รวบรวมนิยามความรู้ไว้ว่า  ความรู้ หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้

ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

 ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge)ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น

 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง

 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้

 การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด

           วิจารณ์ พานิช  (http://www.thaiall.com/km/indexo.html) ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่า  สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 

1) บรรลุเป้าหมายของงาน 

2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 

3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 

4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน



สรุป   ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่

     (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

     (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย

     (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคต       


ที่มา :ชื่อเว็บไซค์  http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/ เข้าถึงเมื่อ  วันที่   22 กรกฎาคม  2556.

         อักษร สวัสดี .ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ภาคนิพนธ์ปริญญา พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2542.

        วิจารณ์ พานิชชื่อเว็บไซค์  http://www.thaiall.com/km/indexo.html   เข้าถึงเมื่อ  วันที่   22 กรกฎาคม  2556.

3. หลักการจัดการความรู้

  
http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/30-0001-intro-to-km-2.htmlได้รวบรวมไว้ว่า  หลักการจัดการความรู้ คือ

         1.   ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การ จัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลังคือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลังในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)

          2.    ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่  เพื่อ บรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ
         -  การ ตอบสนองความต้องการ (responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือ                  ความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
         -  นวัตกรรม (innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
         -   ขีดความสามารถ (competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
         -  ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน

         3. ทดลองและเรียนรู้ เนื่อง จากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคมโดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ best practice ใหม่นั่นเอง

        4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม โดย ต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป
  http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/index2-2.html  ได้รวบรวมไว้ว่า   หลักการ 4 ประการของการจัดการความรู้
        1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
                  การจัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลัง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลัง   ในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (Heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)
        2.ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ
                  เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกบ 4 ประการ คือ
                   - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
                  - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
                  - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
                  - ประสิทธิภาพ (Efficency) ในการทำงาน
        3.ทดลองและเรียนรู้
                เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคม โดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ Best Practice ใหม่นั่นเอง

          4.นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม
                โดยต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป

 http://portal.in.th/learninghome/pages/12089/ ได้รวบรวมไว้ว่า หลักการ 4 ประการของการจัดการความรู้ ประกอบไปด้วย
1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
2. ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
          - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า  ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
          - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
          - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
          - ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงาน
3. ทดลองและเรียนรู้
4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม  การดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยราชการควรใช้หลักการ "พลังสาม รวมเป็นหนึ่งเดียว"
               (1) ใช้พลังของระบบ "ราชการประจำ" ซึ่งมีการทำงานตามกฎระเบียบ มีรูปแบบที่ชัดเจน
               (2) ใช้พลังของ "ระบบแห่งความสร้างสรรค์" มีการทดลองรูปแบบใหม่ ๆ ของการทำงานเป็น project team ทำงานมุ่งเป้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ภายใต้แนวคิดของ "ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว" (complex-adaptive system)
               (3) ใช้พลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร ในรูปของการรวมตัวกันเองเป็นกลุ่ม
เชื่อมโยงกับระบบราชการประจำ และระบบแห่งการสร้างสรรค์ เน้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนา best practices จากการเรียนรู้ จากการทำงานภายในองค์กร และการ "ตรวจจับ" (capture) ความรู้จากภายนอกองค์กรเอามาปรับใช้ในการทำงาน
                  
สรุป  หลักการจัดการความรู้ มี 4 ประการ คือ

         1.   ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การ จัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลังคือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลังในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)

        2.    ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่  เพื่อ บรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ
         -  การ ตอบสนองความต้องการ (responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือ                  ความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
         -  นวัตกรรม (innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
         -   ขีดความสามารถ (competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
         -  ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน

       3. ทดลองและเรียนรู้ เนื่อง จากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคมโดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ best practice ใหม่นั่นเอง
      4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม โดย ต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป 


ที่มา : ชื่อเว็บไซค์  http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/30-0001-intro-to-km-2.html เข้าถึงเมื่อวันที่   22 กรกฎาคม  2556.
        ชื่อเว็บไซค์  http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/index2-2.html  เข้าถึงเมื่อวันที่   22 กรกฎาคม  2556.
        ชื่อเว็บไซค์    http://portal.in.th/learninghome/pages/12089/ เข้าถึงเมื่อวันที่   22 กรกฎาคม  2556.